สมัครสมาชิก
Otsuka Official Store
Otsuka Official Store

มารู้จักเกลือแร่ที่สำคัญในอาหารโรคไต

            ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอัตราการกรองของไตได้น้อยกว่า 45 ml/min/1.73m2   หรือผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะตั้งแต่ 3b ถึง 5 ที่ยังไม่ได้ฟอกเลือด หรือล้างไตทางหน้าท้อง อาหารสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการจำกัดโปรตีนดังได้กล่าวแล้วในบทความก่อน (เริ่มไตไม่ดี ต้องดูแลอย่างไร) ในบทความนี้กล่าวถึงเกลือแร่ที่สำคัญ 3 ชนิดคือ โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส ซึ่งเกลือแร่เหล่านี้ร่างกายได้รับจากอาหารที่รับประทาน นำไปใช้ในการทำงานของร่างกาย โดยมีไตรักษาให้อยู่ในระดับสมดุล ถ้ามากเกินก็ขับออก ถ้าน้อยไปก็เก็บไว้ แต่เมื่อไตทำงานลดลง หรือ อัตราน้อยกว่า 45 ml/min/1.73m2 ระบบการรักษาสมดุลเริ่มมีปัญหา ดังนั้นอาหารโรคไตสำหรับผู้ป่วยระยะนี้จึงต้องคำนึง โซเดียม โพแทสเซียมแ ละฟอสฟอรัส 

โซเดียม

          ถ้าได้รับโซเดียมจากอาหารมากเกินไป ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง มีอาการบวมน้ำ เหนื่อยง่าย ในขณะที่ถ้าได้รับโซเดียมน้อยเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงควรได้รับโซเดียมจากอาหารไม่มากหรือน้อยเกินไป คำแนะนำปริมาณโซเดียมที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการบวมน้ำหรือความดันโลหิตสูง (ซึ่งแพทย์มักแจ้งให้ลดเค็ม ) คือ น้อยกว่า 2000 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนผู้ที่ไม่บวมหรือไม่มีความดันโลหิตสูงให้น้อยกว่า 4000 มิลลิกรัมต่อวัน

             -แหล่งของโซเดียมในอาหาร และวิธีการควบคุมโซเดียม   

         โซเดียมมีอาหารตามธรรมชาติ พบใน ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ เมื่อวิวัฒนาการด้านการเก็บถนอมอาหารซึ่งเริ่มตั้งแต่การใช้เกลือจนพัฒนาเป็นสารประกอบโซเดียมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งในแง่การเก็บรักษา และการปรับปรุงคุณลักษณะอาหาร พบในอาหารต่างๆ เช่น เนื้อสัตว์ตากแห้ง ไส้กรอก อาหารกระป๋อง ขนมขบเคี้ยว ก็ส่งผลให้เราได้รับโซเดียมจากอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ  จากการศึกษาของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2549 ได้เตรียมอาหารให้คนบริโภคทั่วไป 2 สัปดาห์ พบว่าแหล่งโซเดียมจากอาหารส่วนใหญ่มาจากเครื่องปรุงรสที่ใช้ระหว่างการประกอบอาหารตามมาด้วยการปรุงเพิ่มขณะรับประทานอาหาร ดังนั้นหลักในการควบคุมปริมาณโซเดียมจากอาหารจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ไม่ปรุงเพิ่มขณะรับประทานอาหารและจำกัดปริมาณการใช้เครื่องปรุงรสนั่นเอง

 

-หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารแปรรูปคืออาหารที่ผ่านกรรมวิธีเพื่อทำให้เก็บรักษาได้นานๆ โดยสรุปแยกเป็นกลุ่มอาหารดังนี้

กลุ่มอาหาร

ตัวอย่างอาหารที่ควรเลี่ยง/กินน้อย

อาหารที่ควรเลือกแทน

ข้าวแป้ง

หมี่ซั่ว

ข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นขนมจีน

เนื้อสัตว์ ไข่ นม

ไข่เค็ม แหนม กุนเชียง ไส้กรอก ปลาเค็ม ปลาส้ม ปลาร้า ปลาจ่อม ชีส อาหารกระป๋อง

เนื้อสัตว์ สดสะอาด ปรุงสุก เช่น ปลา กุ้ง หมู ไก่ ไข่ นม

ผัก ผลไม้

ผักผลไม้ดองเปรี้ยว / ดองเค็ม

ผักผลไม้สด

เนย

เนยเค็ม

เนยจืด น้ำมันพืช

ขนม

ขนมอบเบเกอรี่ต่างๆ ขนมกรุบกรอบ

ควบคุมปริมาณที่รับประทาน /อ่านฉลากโภชนาการประกอบ

เครื่องดื่ม

เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่

น้ำเปล่า

-ไม่ปรุงเพิ่มขณะรับประทานอาหารในที่นี้หมายถึงเครื่องปรุงที่มีโซเดียม เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส สามารถใช้เครื่องปรุงรสที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ได้แก่

                o žความเผ็ดจาก พริกสด พริกป่น พริกไทย

                o žความเปรี้ยวจาก มะนาว น้ำส้มสายชู

            -จำกัดปริมาณการใช้เครื่องปรุงรส

                o žกรณีซื้ออาหารรับประทานหรือรับประทานอาหารนอกบ้าน ประเภทอาหารตามสั่งอาหารเค็มน้อย ลดปริมาณเครื่องปรุง อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วหลีกเลี่ยงหรือลดส่วนที่เป็นน้ำเนื่องจากเครื่องปรุงรสต่างๆละลายในส่วนที่เป็นน้ำ ทั้งน้ำซุป น้ำผัด น้ำจิ้ม น้ำยำ น้ำราด ข้อสังเกตคือ ไม่ใช้ความเค็มเป็นตัวตัดสินเนื่องจากผู้ที่รับประทานอาหารรสชาติเค็มมานานๆ จะคุ้นเคยกับรสชาติเค็มจึงไม่รู้สึกเค็ม และมีโซเดียมอีกกลุ่มที่ไม่มีรสเค็มแต่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ผงชูรส หรือ เกลือโมโนโซเดียมกลูตาเมต

                  o กรณีทำอาหารรับประทานเอง ให้ใช้เครื่องเทศ สมุนไพรเพื่อแต่งกลิ่น รส เช่น กระเทียม หอมแดง พริกไทย ใบกะเพรา ขิง ตะไคร้ จะช่วยชูกลิ่นรสของอาหารโรคไต  ไม่ต้องกังวลปริมาณโพแทสเซียมเนื่องจากใช้ปริมาณน้อยก็เพียงพอแล้ว ถ้าใช้มากกลับทำให้เสียรสชาติ ส่วนเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียม เช่น เกลือ กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ ซอสปรุงรส เต้าเจี้ยว น้ำมันหอย ผงปรุงรส ผงชูรส ให้เลือกใช้ให้เหมาะกับชนิดอาหาร และควบคุมปริมาณการใช้เช่นเดิมผัดผักใช้ซอสหอยนางรม ซอสปรุงรส ผงปรุงรส น้ำปลา ก็ให้ลด จำนวนเครื่องปรุงที่ใช้เหลือซอสหอยนางรมกับซีอิ๊ว หรืออ่านฉลากโภชนาการให้รวมปริมาณโซเดียมจากเครื่องปรุงรสที่ใช้ให้ได้มื้อละ 400 – 600 มิลลิกรัม ต่ออาหารมื้อหลัก 1 มื้อ

ตารางแสดงปริมาณโซเดียมเฉลี่ยในเครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ

 

ชนิดของเครื่องปรุงรส

 

หน่วย*

ปริมาณโซเดียม (มิลลิกรัม)

ช่วง

เฉลี่ย

เกลือ

1 ช้อนชา

-

2000

ผงชูรส

1 ช้อนชา

-

610

ผงปรุงรส

1 ช้อนชา

-

815

ซุปก้อน

1 ก้อน

-

1760

น้ำปลา

1 ช้อนชา

357-540

450

ซีอิ๊ว

1 ช้อนชา

293-523

397

ซอสถั่วเหลือง

1 ช้อนชา

370-447

396

ซอสหอยนางรม

1 ช้อนชา

150-203

173

น้ำจิ้มไก่

1 ช้อนชา

120-137

128

ซอสพริก

1 ช้อนชา

20-117

77

ซอสมะเขือเทศ

1 ช้อนชา

30-63

50

*หน่วยที่ใช้ในการบริโภคหรือประกอบอาหาร เครื่องปรุงรส 1 ช้อนชา มีน้ำหนักประมาณ 5 กรัม ซุปก้อน 1 ก้อน มีน้ำหนัก 10 กรัม

ที่มา: วันทนีย์ เกรียงสินยศ. ลดโซเดียม ยืดชีวิต: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555.

สิ่งที่ควรระมัดระวังในการลดโซเดียม

-ให้ค่อยๆลดความเค็ม หรือปริมาณเครื่องปรุงที่ใช้เพื่อให้คุ้นชินกับความเค็มที่ลดลง
-ไม่แนะนำการไม่เติมเครื่องปรุงรสใดๆในการประกอบอาหารเลย เนื่องจากร่างกายยังต้องการใช้โซเดียม และปริมาณที่แนะนำเป็นปริมาณที่ปลอดภัยแล้ว อาหารที่ไม่ได้ใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมเลยจะไม่น่ารับประทานส่งผลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลง อาจทำให้เกิดปัญหาการขาดอาหารตามมา
-การใช้เครื่องปรุงรสโซเดียมต่ำ มีหลักการเลือกคือ ถ้าแพทย์แจ้งว่าต้องจำกัดโพแทสเซียม หรือมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง หรือเป็นโรคไตเรื้อรังระยะท้ายๆ ให้เลือกใช้ชนิดที่ไม่เติมเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ ซึ่งอาจมีระบุบนฉลาก หรือสอบถามนักกำหนดอาหาร/นักโภชนาการ

โพแทสเซียม

          โพแทสเซียมพบในอาหารแทบทุกชนิด แต่จะพบมากในผักและผลไม้ ในปัจจุบันยังมีแหล่งโพแทสเซียมในอาหารที่สำคัญอีก 1 แหล่งคือ สารประกอบของเกลือโพแทสเซียม ซึ่งพบในเครื่องปรุงรสโซเดียมต่ำชนิดที่เติมเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ และอาหารแปรรูปต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหาร เช่น เนื้อสัตว์แปรรูปต่างๆ ไส้กรอก แฮม ฯลฯ แนะนำผู้ที่ต้องควบคุมปริมาณโพแทสเซียมในอาหารควรงดอาหารที่เป็นแหล่งของสารประกอบโพแทสเซียมร่วมกับการงดผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง

-ผักผลไม้อะไรบ้างที่มีโพแทสเซียมสูง การแบ่งประเภทผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงอาจแบ่งตามปริมาณโพแทสเซียมในผักผลไม้น้ำหนัก 100 กรัม หรือแบ่งเป็นผักผลไม้กลุ่มโพแทสเซียมต่ำ ปานกลางและสูงตามปริมาณผักผลไม้ 1 หน่วยแลกเปลี่ยน เพื่อให้ง่ายต่อการกะปริมาณในการรับประทาน ดังนี้

žo ผัก 1 หน่วยแลกเปลี่ยน (ผักดิบ 2 ทัพพี หรือผักสุก 1ทัพพี)
ผักโพแทสเซียมต่ำ 1 ส่วน มีโพแทสเซียมเฉลี่ย 70 มิลลิกรัม
ผักโพแทสเซียมปานกลาง 1 ส่วน มีโพแทสเซียม เฉลี่ย 70-150 มิลลิกรัม
ผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงให้งดผักกลุ่มโพแทสเซียมสูง เลือกผักกลุ่มโพแทสเซียมต่ำหรือปานกลาง รวมกันวันละ 3 ส่วน

ผักโพแทสเซียมต่ำ (เฉลี่ย 70 มิลลิกรัม ต่อผักสุก 1 ทัพพี หรือผักดิบ 2 ทัพพี)

กระโดน กระเพรา คื่นช่าย ชะอม เซลารี่ ตั้งโอ๋ ตำลึง ผักตำลึง ต้นหอม ถั่วงอก ถั่วพุ่มฝักสด ถั่วพู

ถั่วลันเตา ใบชะมวง ใบบัวบก ใบแมงลัก ใบย่านาง ใบโหระพา บวบเหลี่ยม ผักกาดขาวใบเขียว ผักกาดหอมผักกวางตุ้ง ผักติ้ว ยอดมะระ สาหร่ายจีฉ่าย เห็ดหูหนูดำ

ผักโพแทสเซียมปานกลาง (เฉลี่ย 70-150 มิลลิกรัม ต่อผักสุก 1 ทัพพี หรือผักดิบ 2 ทัพพี)

กะหล่ำปลี ขนุนอ่อน แขนงกะหล่ำปลี ข้าวโพดอ่อน คะน้า ดอกกุยช่าย แตงกวา น้ำเต้า ใบกุยช่าย

ใบชะพลู ใบมันเทศและยอด ปวยเล้ง ผักกาดขาว ผักโขม ผักชี ผักชีฝรั่ง ผักชีลาว ผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทย ผักปลัง พริกยักษ์/พริกหวาน พริกหวานสีเขียว มะละกอดิบ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดหอมสด หอมใหญ่

ผักโพแทสเซียมสูง (เฉลี่ยมากกว่า 150 มิลลิกรัม ต่อผักสุก 1 ทัพพี หรือผักดิบ 2 ทัพพี)

กะหล่ำดอก กะหล่ำปลีม่วง กระเจี๊ยบเขียว กระชาย กระถิน กระเทียม ขิง แครอท จมูกข้าวสาลี ถั่วฝักยาว

น้ำลูกยอ ใบขี้เหล็ก ใบและเมล็ดมะรุมแห้ง มะเขือพวง มะเดื่อ มะระจีน มันแกว มันฝรั่ง มันเทศ ผักหวาน

ผงลูกยอ มะรุม รากบัว ลูกยอ วาซาบิ สะเดา สะตอ หัวปลี หัวผักกาด(หัวไชเท้า) เห็ดกระดุม เห็ดโคน

เห็ดตับเต่า เห็ดฟาง เห็ดหูหนูแห้ง เห็ดเผาะ เห็ดเป๋าฮื้อ หอมแดง หน่อไม้ แห้ว

หมายเหตุ
-ผักโพแทสเซียมสูงที่ใช้ปริมาณเล็กน้อยโพแทสเซียมก็น้อยลงด้วย เช่น กระเทียม ขิง ใช้ปริมาณเล็กน้อยในการแต่งกลิ่นและเพิ่มรสชาติของอาหาร
-วิธีการลดโพแทสเซียมในผัก เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดผัก โดยใช้หลักการที่ว่าโพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ที่ละลายได้ดีในน้ำมาลดโพแทสเซียมในผักได้ คือ หลังจากที่ล้างทำความสะอาดผักแล้ว ให้ปอก หรือลอกเปลือกออก หั่นให้มีขนาดเล็กเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิว แล้วนำไปแช่น้ำสะอาดหรือน้ำประปา ท่วมๆ 20 -30 ขั้นตอนนี้โพแทสเซียมบางส่วนในผักจะแพร่ออกมา เสร็จแล้วนำผักไปต้มจนสุก เทน้ำทิ้ง จะลดโพแทสเซียมได้ประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วจึงนำผักนั้นไปประกอบอาหารหรือรับประทาน ซึ่งปริมาณโพแทสซียมที่ลดลงขึ้นอยู่กับขนาดของผัก และระยะเวลาในการต้ม วิธีการนี้รสชาติของผักก็ลดลงไปด้วย แต่ทำให้ผู้ป่วยได้รับประทานผักหลากชนิด ในขณะที่ใยอาหารยังคงเหลืออยู่

o žผลไม้ 1 หน่วยแลกเปลี่ยน

ผลไม้โพแทสเซียมต่ำ 1 ส่วน มีโพแทสเซียมเฉลี่ย 70 มิลลิกรัม
ผลไม้โพแทสเซียมปานกลาง 1 ส่วน มีโพแทสเซียม เฉลี่ย 150 มิลลิกรัม
ผลไม้โพแทสเซียมสูง 1 ส่วน มีโพแทสเซียมเฉลี่ย 270 มิลลิกรัม

ถ้าระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง แนะนำให้งดผลไม้กลุ่มโพแทสเซียมสูง เลือกกลุ่มผลไม้โพแทสเซียมต่ำหรือปานกลางรวมกันวันละ 1-2 หน่วยแลกเปลี่ยน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอาจปรึกษานักกำหนดอาหาร หรือแพทย์ร่วมด้วย ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจให้งดผลไม้

ผลไม้โพแทสเซียมต่ำ (เฉลี่ย 70 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

ผลไม้

ปริมาณ 1 ส่วน
หรือ 1 จานรองแก้วกาแฟ

สับปะรด

1/6 ผล หรือ 8 ชิ้นพอคำ

มังคุด

4 ผลกลาง

แอปเปิ้ลแดง

1 ผลเล็ก

แอปเปิ้ลเขียว

1 ผลเล็ก

เงาะ

5 ผลกลาง

มะม่วงดิบ

½ ผล ผลกลาง

มะม่วงสุก

½ ผล ผลกลาง

สละ

5 ผล

สาลี่

½ ผลกลาง

ส้มเช้ง

½ ผลกลาง

ลูกท้อ

½ ผลเล็ก

 

ผลไม้โพแทสเซียมต่ำ (เฉลี่ย 70 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน) กลุ่มผลไม้กระป๋อง

ผลไม้

ปริมาณ

เงาะในน้ำเชื่อม

2 ผล + น้ำเชื่อม 3 ช้อนโต๊ะ

ฟรุตสลัดในน้ำเชื่อม

เนื้อผลไม้ 3 ช้อนโต๊ะ

+ น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ

ลำไยในน้ำเชื่อม

4 ผล + น้ำเชื่อม 3½ ช้อนโต๊ะ

ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อม

2 ผล + น้ำเชื่อม 3½ ช้อนโต๊ะ

หมายเหตุ ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคเบาหวาน หรือน้ำหนักเกิน ผลไม้กระป๋องเป็นอาหารที่แปรรูปโดยใช้ความร้อนและถนอมอาหารด้วยน้ำตาลเข้มข้น ไม่ใช้เกลือ และไม่ใช้วัตถุกันเสียจึงมีโซเดียมน้อยมาก

ผลไม้โพแทสเซียมปานกลาง (เฉลี่ย 150 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

ผลไม้โพแทสเซียมสูง (เฉลี่ย 270 มิลลิกรัมต่อ 1 ส่วน)

TAGS :