จริงไหม!! เป็นมะเร็งห้ามกินโปรตีน
คนเราต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เมื่อร่างกายของคุณได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ก็อาจจะมีการสลายกล้ามเนื้อเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานยามจำเป็น ซึ่งส่งผลให้ต้องใช้เวลานานกว่าที่ร่างกายจะฟื้นตัวจากอาการป่วยและทำให้ร่างกายต้านทานการติดเชื้อได้น้อยลง ปรับอาหารเอง งดเนื้อสัตว์
ตามคำแนะนำด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งพบว่าหากผู้ป่วยเลือกรับประทานอาหาร เช่น ไม่กินเนื้อสัตว์เลย ร่วมกับการไม่ได้รับอาหารเสริมหรืออาหารทดแทนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่แย่ลง ซึ่งภาวะโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยมะเร็งได้อีกด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยจึงอาจจำเป็นต้องกินอาหารทางการแพทย์เสริมโดยเลือกสูตรที่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เช่น สูตรอาหารทางการแพทย์ที่มีโปรตีนสูง เป็นต้น
โปรตีนคุณภาพเป็นอย่างไร?
กรดอะมิโนจำเป็น (ฮีสทิดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมไทโอนีน ฟีนิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตเฟน และวาลีน) คือกรดอะมิโนที่ร่างกายเราไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ได้ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเลือกรับประทานโปรตีนที่มีคุณภาพ นั่นคือ มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนและมีสัดส่วนที่เหมาะสม ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสามารถสังเคราะห์โปรตีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าโปรตีนที่มีคุณภาพ ได้แก่ โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ และนม ส่วนโปรตีนจากพืชมักขาดกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิด จึงจำเป็นต้องกินพืชที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนจำเป็นครบทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบว่าร่ายกายของเรามีความสามารถในการย่อยและดูดซึมโปรตีนจากพืชได้ต่ำกว่าโปรตีนจากสัตว์อีกด้วย
กินโปรตีนจากสัตว์หรือจากพืชดี?
วารสาร Clinical Nutrition ได้มีการตีพิมพ์บทความจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเมื่อไม่นานมานี้ว่า โปรตีนจากสัตว์มีส่วนประกอบในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้มากกว่าโปรตีนจากพืช ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาควรได้รับโปรตีนจากสัตว์มากกว่าโปรตีนจากพืช แต่หากจะเลือกกินเฉพาะโปรตีนจากพืชจำเป็นต้องได้รับจากพืชที่หลากหลายเพื่อให้ได้กรดอะมิโนที่ครบถ้วนและปริมาณที่ได้รับต้องเพียงพอ ไม่เช่นนั้นก็จะมีความเสี่ยงต่อการได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ
โดย ESPEN (European Society for Clinical Nutrition and Metabolism) มีคำแนะนำว่าผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนสูงเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะโภชนาการที่ดีหรือช่วยให้มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น โดยหากรับประทานจากอาหารไม่เพียงพอก็แนะนำว่าให้ใช้อาหารทางการแพทย์เสริม ซึ่งควรเลือกอาหารทางการแพทย์เฉพาะโรค นั่นก็คือ อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
ผู้เขียน
นัฏฐิกา สงเอียด
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ
แหล่งอ้างอิง :
###